สร้างคอนเทนต์ให้ปังเพิ่ม Engagement นำคู่แข่งด้วย Content Monitoring

           หลายคนอาจจะสับสนระหว่าง Content Monitoring กับ Content Moderation ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร? โดยปกติแบรนด์จะใช้ Content Monitoring ในการช่วยวัดประสิทธิภาพของคอนเทนต์ที่ผลิตออกมา แต่การใช้ Content Moderation จะเป็นการคัดกรองข้อมูลและฟีดแบ็กต่างๆ 

          เพราะโดยทั่วไปลูกค้ามักจะแสดงความคิดเห็น กด like หรือ dislike หลังจากที่แบรนด์ปล่อยคอนเทนต์ออกมา ข้อมูลที่เกิดจาก User ภายนอกก็อาจจะมีทั้งแง่ลบและแง่บวก ซึ่งอาจจะส่งทั้งผลดีและผลเสียต่อแบรนด์ได้ ด้วยเหตุนี้ Content Moderation จึงเข้ามามีบทบาทในการช่วยคัดกรองข้อมูลที่เหมาะสม โดยอาจจะมีการใช้มาตรวัดต่างๆ เข้ามาช่วยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเนื้อหาหรือความคิดเห็นในเชิงลบที่อาจจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้

เคยสงสัยหรือไม่ว่าคอนเทนต์การตลาดที่แบรนด์ผลิตออกมา แบบไหนส่งผลดีต่อกลุ่มเป้าหมาย?

          ถ้าหากยังตอบคำถามนี้ไม่ได้ อาจจะเป็นไปได้ว่าแบรนด์ยังไม่ได้ลองทำ Content Monitoring อย่างจริงจัง เพราะ Content Monitoring คือการตรวจสอบประสิทธิภาพของคอนเทนต์และเนื้อหาต่างๆ ที่แบรนด์ได้เผยแพร่ในหลากหลายช่องทาง

         ยิ่งปัจจุบันกระแสของ Social Media มีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้า ดังนั้นการตรวจสอบและวัดประสิทธิภาพด้วยการใช้ Content Monitoring จึงช่วยในการตัดสินใจเชิงรุกและสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีศักยภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อยอดขายและ Engagement ได้ในอนาคต

4 ข้อดีของการทำ Content Monitoring

1  ได้ฟังเสียงสะท้อนของลูกค้า

      การใช้ Content Monitoring จะช่วยให้แบรนด์เข้าใจกลุ่มเป้าหมายว่ามีผลตอบรับต่อคอนเทนต์หรือแคมเปญทางการตลาดอย่างไรบ้าง ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้ต่อยอดในเชิงกลยุทธ์การตลาดได้ ดังเช่น Burger King ได้ปล่อยแคมเปญ The Real Cheese Burger ซึ่งกลายเป็นไวรัลและได้ผลตอบรับที่ดีมาก และหลังจากผลตอบรับเชิงบวก Burger King จึงได้ออกแคมเปญใหม่อย่าง The Real Meat Burger ซึ่งมีคอนเซปต์ที่คล้ายกันเพื่อตอบรับกระแสความต้องการ และสร้างยอดขายใหม่เพิ่มขึ้น

2  ตอบสนองลูกค้าได้ไวมากขึ้น 

      การใช้ Content Monitoring จะทำให้แบรนด์รู้ว่าลูกค้ามีปฏิกิริยาอย่างไรต่อแบรนด์ ดังนั้นหากเกิดปัญหา คำถาม หรือมีความเห็นเชิงลบ การทำ Content Monitoring อย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้แบรนด์สามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างทันท่วงที โดยจากข้อมูลของ Sprout Surveys พบว่าการที่แบรนด์ตอบกลับลูกค้าได้อย่างฉับไวจะทำให้ลูกค้าหันมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 21% ตัวอย่างเช่น สายการบิน United Airlines ได้ใช้ Twitter ตอบกลับลูกค้าและส่งมอบบริการที่เหมาะสมได้อย่างทันท่วงทีจนได้รับคำชมและสร้างยอดขายที่เพิ่มขึ้นได้

3 สร้าง Brand Loyalty ให้แข็งแรง

      หลังจากการทำ Content Monitoring แบรนด์จะทราบถึงความคาดหวังและความพึงพอใจ รวมถึงความผิดหวังจากลูกค้า ซึ่งหากแบรนด์แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจและรับฟังลูกค้าอย่างกระตือรือร้น โดยอาจจะปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของลูกค้าและแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด แบรนด์ก็สามารถสร้างความภักดีหรือ Brand Loyalty ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4  เพิ่มฐานลูกค้าใหม่และดึงลูกค้าที่เสียไปกลับคืนมา

    หลายครั้งหลายหนที่แบรนด์ต้องสูญเสียผู้ติดตามไปจากสาเหตุของคอนเทนต์ที่อาจจะไม่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า ดังนั้นหากแบรนด์หมั่นทำ Content Monitoring แบรนด์ก็จะเห็นถึงปัญหาว่าคอนเทนต์ประเภทไหนที่ไม่เหมาะสม หรือทำให้เกิดผลกระทบในเชิงลบ ดังนั้นเมื่อทราบสาเหตุที่ชัดเจน แบรนด์ก็จะสามารถสร้างคอนเทนต์ที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายเพื่อดึงผู้ติดตามให้กลับคืนมา รวมถึงใช้ข้อมูลเหล่านี้สร้างฐานลูกค้าใหม่ได้เช่นกัน

Content Monitoring คือการตรวจสอบประสิทธิภาพของคอนเทนต์และเนื้อหาต่างๆ ที่แบรนด์ได้เผยแพร่ในหลากหลายช่องทาง

      การทำ Content Monitoring ถือเป็นเรื่องที่สำคัญและต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ เพราะต้องใช้ทรัพยากรในหลากหลายด้าน ที่สำคัญความชำนาญก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้การวัดผลมีประสิทธิภาพและนำไปต่อยอดได้จริง และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด ที่สำคัญแบรนด์จะสามารถส่งต่อความตั้งใจอันดีและสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กับกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างตรงใจ

หากต้องการผู้ช่วยมือโปร ทาง MOCAP ก็มีบริการแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการทำ Brand Health Check การทำ Content Monitoring การทำ Market Research รวมไปถึงการให้บริการ Call Center และ Outsourcing ซึ่งมีครบรวมจบในที่เดียว ช่วยให้คุณทำงานได้อย่างคล่องตัวและทำให้แบรนด์ของคุณแข็งแรงขึ้นได้อย่างแน่นอน